เมนู

รู้บาลี. บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติอย่างอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติ
มีกำลังอันเป็นอาการยินดี. บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย. บทว่า ปสฺสมฺภติ
คือ สงบนิ่ง. บทว่า สุขํ เวเทติ ได้แก่ ได้ความสุข. บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ
ได้แก่ จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิชั้นอรหัตผล. จริงอยู่ ภิกษุนี้เมื่อฟังธรรมนั้น
ย่อมรู้จักฌานวิปัสสนา มรรคและผลในที่ฌานเป็นต้นมาแล้ว ๆ เมื่อภิกษุนั้น
รู้อย่างนี้ ปีติก็เกิด ในระหว่างปีตินั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ท้อถอย บำเพ็ญอุปจาร-
กรรมฐาน เจริญวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต. ทรงหมายถึงพระอรหัตนั้น
จึงตรัสว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่นี้
เป็นความต่างกัน. บทว่า สมาธินิมิตฺตํ ได้แก่ สมาธิในอารมณ์ 38 อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาธินิมิต. แม้ในบทเป็นต้นว่า สุคฺคหิตํ โหติ กรรมฐาน
อันผู้เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ เป็นอันเรียนแล้วด้วยดี ใส่ใจไว้ด้วยดี
ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า สุปฺปฏิวิทฺธํ ปญฺญาย ได้แก่ ทำให้ประจักษ์ดี
ด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺมึ ธมฺเม ได้แก่ ในธรรมคือบาลีที่มาแห่งกรรมฐาน
นั้น. ในสูตรนี้ตรัส วิมุตตายตนะแม้ทั้ง 5 ถึงอรหัต.
จบอรรถกถาวิมุตติสูตรที่ 6

7. สมาธิสูตร


ว่าด้วยญาณ 5 อย่าง


[27] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ
หาประมาณมิได้อยู่ ญาณ 5 อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ 5 อย่าง
เป็นไฉน คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมี